เวียนเทียนวันไหน

เวียนเทียนที่วันไหน ของที่ต้องเตรียมและวิธีการเวียนเทียน

เวียนเทียนวันไหน กิจกรรมหรือพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่ชาวพุทธทุกคนคุ้นเคย เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของสมบัติทั้งสามของพระพุทธเจ้า ธรรมกาย และสังฆะ วงจรการเวียนว่ายตายเกิด (วัฏสงสาร) จะเกิดขึ้นในขณะที่เวียนรอบปูชนียสถานสำคัญภายในวัด เช่น วิหารและอุโบสถ 3 รอบ ว่าชีวิตของเรามีขึ้นมีลงเหมือนวงล้อ

เวียนเทียนวันไหน

พิธีเวียนเทียน จัดวันไหนบ้าง?

แน่นอนว่าชาวไทยพุทธทุกคนเคยมีประสบการณ์การเวียนเทียน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากหลายคนยังสับสนและอาจไม่รู้ว่าวันเวียนเทียนเกิดขึ้นวันไหน Rabbit Care จึงได้รวบรวมวันสำคัญทางศาสนาพุทธที่นิยมจุดเทียนมากที่สุด ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมจะได้เตรียมตัวกัน อยากทำได้ดีในรอบต่อไป ห้ามพลาด!
เวียนเทียนวันไหน

วันมาฆบูชา(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)

มาฆบูชาวันสำคัญที่พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปมาชุมนุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย เกิดเหตุจาตุรงคสันนิบาต และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งในทางพุทธศาสนาถือเป็นหัวใจสำคัญ วันมาฆบูชาจึงนับว่าเป็นวันที่สำคัญมากอีกวันหนึ่งของชาวพุทธที่มีกิจกรรมทางพุทธศาสนาให้ทำมากมาย
เวียนเทียนวันไหน

วันวิสาขบูชา(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6)

วิสาขบูชา อีกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาซึ่งถือเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยคณะกรรมาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ได้มีการพิจารณาและลงมติกันให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลกด้วยเหตุผลว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงมีเมตตาและเป็นมหาบุรุษของเหล่ามวลมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ยกเลิกระบอบชนชั้นวรรณะหรือเลิกทาสโดยไม่มีการนองเลือด

วันอาสาฬหบูชา(ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8)

อาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาเป็นครั้งแรกและทรงทำการปฐมเทศนา เทศน์กัณฑ์แรก คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเพื่อเป็นการโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งในวันนี้ก็ได้มีสาวกรูปแรกที่ได้บรรลุธรรมและบวชเป็นพระสงฆ์รูปแรก รวมถึงในด้านพระพุทธศาสนานับว่าวันอาสาฬหบูชานี้เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงถือเป็นวันที่สำคัญมากวันหนึ่งเลยทีเดียว

วันอัฐมีบูชา(แรม 8 ค่ำ เดือน 6)

วันอัฐมีบูชา หรือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังจากปรินิพพานได้ 8 วัน ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกหนึ่งวันแต่จะมีความแตกต่างกับ 3 วันก่อนหน้าตรงที่อาจไม่ได้มีการจัดงานพิธีอย่างแพร่หลายทั่วทุกวัด จะมีเพียงบางวัด บางพื้นที่เท่านั้น วันอัฐมีบูชา

ความสำคัญของการเวียนเทียน - เวียนเทียนวันไหน

หากจะพูดถึงความสำคัญของการเวียนเทียนซึ่งจะมีพิธีขึ้นใน 4 วันพิเศษหลัก ๆ ทางพุทธศาสนาอย่าง วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันอัฐมีบูชาแล้ว เป้าหมายหลักของการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนานี้นั้นมีขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทุกคนได้ระลึกถึงอำนาจบารมีของคุณพระศรีรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตระหนักรู้และเข้าใจถึงการหมุนเวียนไปของวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิด
โดยการเวียนเทียนในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากทางอินเดียซึ่งได้นำการทำพิธีดังกล่าวเข้ามาพร้อมกับพระพุทธศาสนาซึ่งปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพศรัทธาต่อพระรัตนตรัยด้วยการทำพิธี ดังกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎก จากนั้นได้มีการนำมาปรับประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมของไทยซึ่งมีการยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมถึงมีข้อความในพงศาวดารยืนยันอีกด้วย
เวียนเทียนวันไหน

วิธีการเวียนเทียนอย่างถูกวิธี

ไม่ว่าจะมีจิตศรัทธาแรงกล้าหรือความตั้งใจในการร่วมทำบุญเวียนเทียนมากเพียงไหนก็คงไม่ดีนักหากทำอย่างไม่ถูกวิธี ก่อนไปร่วมพิธี เวียนเทียนทั้งในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา หรือวันอัฐมีบูชาจึงควรเตรียมตัวให้ดีทำให้ถูกต้องตามประเพณีเพื่อที่จะได้รับบุญกันแบบเต็ม ๆ

  • ทำการชำระร่างกายและจิตใจ : ก่อนไปเวียนเทียนควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส
  • เตรียมของบูชา : เตรียมธูป-เทียน ดอกไม้เวียนเทียนตามหัวข้อก่อนหน้าที่ได้กล่าวไป
  • ไหว้พระประธานเสริมความสิริมงคล : เมื่อไปถึงวัดอันดับแรกให้เข้าไปในโบสถ์เพื่อไหว้สักการะพระประธานให้เรียบร้อยก่อนจะออกมาเวียนเทียน
  • เริ่มเวียนเทียน : จุดธูปเทียนที่เตรียมมา นำมาถือไว้ในมือพร้อมดอกไม้เวียนเทียน พนมมือเดินวนขวารอบโบสถ์จำนวน 3 รอบ ขณะนั้นให้ตั้งจิตสวดมนต์รวมถึงระลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยไปด้วย
  • วางดอกไม้ธูปเทียน : หลังจากเวียนเทียนครบ 3 รอบ ให้นำธูป-เทียน และดอกไม้เวียนเทียนไปวางไปบริเวณจุดบูชาที่ทางวัดจัดเตรียมไว้