อัฏฐมีบูชา ประวัติ

อัฏฐมีบูชา อ่านประวัติและหลักธรรมของวันอัฏฐมีบูชา​

วัน อัฏฐมีบูชา ประวัติ คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องด้วยอัฏฐมีคือ วันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน 6) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา” ในปี 2566 วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนเจ็ด(7) ปีเถาะ

นอกจากนั้น วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย

อัฏฐมีบูชา ประวัติ

อัฏฐมีบูชา ประวัติ

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 หรือวันแรม 8 ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ หรือ แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีอธิกมาส วันอัฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว 8 วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ (เผาศพพระพุทธเจ้า) วันนี้จึงเรียกว่า “วันอัฏฐมีบูชา” ซึ่งประวัติความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชา คือ เมื่อวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ในพรรษาที่ 45 พระพุทธเจ้าได้ทรงประชวรหนัก ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ทรงปลงมายุสังขาร โดยพระพุทธเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคต จักมีในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ”
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว 7 วัน มัลลกษัตริย์ แห่งนคร กุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์ อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 และภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว กษัตริย์และ ผู้ครองแคว้นต่าง ๆ

รวม 7 แคว้น ได้แก่
(๑.) พระเจ้าอชาตศัตรู เมืองมคธ
(๒.) กษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี
(๓.) กษัตริย์ศากยะ เมืองกบิลพัสดุ์
(๔.) กษัตริย์ถูลี เมืองอัลกัปปะ
(๕.) กษัตริย์โกลิยะ เมืองรามคาม
(๖.) มหาพราหมณ์ เมืองเวฏฐทีปกะ และ
(๗.) กษัตริย์มัลละ เมืองปาวา

ได้ส่งทูตมาขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ตอนแรกพวกเจ้ามัลละ แห่งนครกุสินารา ไม่ยอมแบ่งให้จนเกือบจะเป็นชนวน ให้เกิดสงครามระหว่างพวกเจ้ามัลละกับกษัตริย์และพราหมณ์ทั้ง 7 แคว้นที่มาขอส่วนแบ่ง แต่เหตุการณ์ความขัดแย้งก็ระงับลงได้โดยมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ “โทณะ” เข้ามาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างกษัตริย์ และพราหมณ์เหล่านั้น ความว่า 

“ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงฟังคำอันเอกของข้าพเจ้าพระพุทธเจ้าของเรา ทั้งหลาย เป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ การจะสับประหารกันเพราะส่วนพระสรีระ ของ พระพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุคคลเช่นนี้ไม่ดีเลย ขอเราทั้งหลายทั้งปวง จงยินยอมพร้อมใจยินดีแบ่งพระสรีระออกเป็นแปดส่วนเถิด ขอพระสถูปจงแพร่หลายไป ในทิศทั้งหลาย ชนผู้เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุมีอยู่มาก ฯ”

ความสำคัญของวันอัฏฐมีบูชา

ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาวพุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติภาวนามัยกุศล
อัฏฐมีบูชา ประวัติ

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันอัฏฐมีบูชา

เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลงพระพุทธสรีระ ในวันนี้พุทธศาสนิกชนควรได้ตระหนักว่า ชีวิตมนุษย์คืออะไร และเข้าใจว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นเป็นของไม่เที่ยง การ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทุกคน ไม่มีใครหนีพ้น จะได้ไม่เกิดการยึดมั่นถือมั่น

ความจริงเหล่านี้เป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและทรงเน้น เป็นของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ควรศึกษามีมากมาย ดังตัวอย่าง เช่น ขันธ์ 5 หลักไตรลักษณ์ และหลักธรรมเรื่องความไม่ประมาท